วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model)

รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model)

ADDIE  เป็นรูปแบบการสอนที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น CAI/CBT, WBI/WBT หรือ  e-Learning ก็ตาม เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดและเป็นระบบปิด (Closed System) โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ในขั้นประเมินผลซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายแล้วนำข้อมูลไปตรวจปรับ (Feedback) ขั้นตอนที่ผ่านมาทั้งหมด          
  1.  การวิเคราะห์ (A : Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของรูปแบบการสอน ADDIE ซึ่งมีความสำคัญยิ่งเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ส่งผลไปยังขั้นตอนอื่นๆทั้งระบบ ถ้าการวิเคราะห์ไม่ละเอียดเพียงพอ จะทำให้ขั้นตอนต่อไปขาดความสมบูรณ์ ในขั้นตอนนี้จึงใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนอื่น ๆ โดยจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียน  วัตถุประสงค์ ความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมที่คาดหวัง ปริมาณและความลึกของเนื้อหาและแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการต่างๆ  
  2.    การออกแบบ (D : Design)  เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยออกแบบบทเรียนตามกลยุทธ์ที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานด้านเอกสารเช่นกัน โดยจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของบทเรียน การเรียงลำดับ เนื้อหา  วิธีการนำเสนอเนื้อหา การเลือกใช้สื่อและการนำเสนอแบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการต่าง ๆ
  3.    การพัฒนา (D : Development)  เป็นขั้นตอนที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบมาดำเนินการต่อ เป็นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาเป็นบทเรียนตามแผนการที่วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดยใช้ระบบนิพนธ์หรือซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้เป็นบทเรียนต้นแบบพร้อมจะนำไปทดลองใช้ในขั้นต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการต่างๆ
  4.  การทดลองใช้ (I : Implementation)  เป็นการนำบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายตามวิธีการที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นประกอบด้วยการดำเนินการต่างๆ
  5. การประเมินผล (E : Evaluation) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของรูปแบบการสอน ADDIE เพื่อประเมินผลบทเรียนและนำผลที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีคุณภาพประกอบด้วยการดำเนินการต่าง ๆ

"Tyler's rationale"

"Tyler's rationale"  โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา   ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์

ตาราง  หลักการการสร้างหลักสูตร
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
หลักการสร้างหลักสูตร
What is the purpose of the education?
การวางแผนหลักสูตร (Planning)
What educational experiences will attain the purposes?
การออกแบบหลักสูตร (Design)
How can these experiences be effectively organized?
การจัดการหลักสูตร (Organize)
How can we determine when the purposes are met?
การประเมินหลักสูตร (Evaluation)

การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรด้วย โดยรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก

คำถามข้อที่ 1: What is the purpose of the education? (Planning)
จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
1.               Subject matter หรือว่าผู้รู้
2.               Learner คือด้านผู้เรียน
3.               Society  คือด้านสังคม 

คำถามข้อที่ 2: What educational experiences will attain the purposes? (Design)
1.               หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 Principles of Curriculum Design)
-                   Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือต้องออกแบบหลักสูตรให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนรู้
-                   Breadths (ความกว้าง) คือหลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะว่าบางครั้งในการเรียนรู้มีแนวทางในการเรียนได้หลายทาง
-                   Progressions (ความก้าวหน้า) คือหลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
-                   Depths (ความลึกซึ้ง) คือหลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสำคัญ คือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
-                   Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือหลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องสนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
-                   Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือเนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
-                   Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือหลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
2.               ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs                        Reading (อ่านออก)  , Writing (เขียนได้)     , Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
-                   Critical Thinking & Problem solving  คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
-                   Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
-                   Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
-                   Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้ ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์
-                   Communication information and media literacy  คือความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
-                   Computing and ICT literacy  คือความสามารถในยุคของ Digital age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
-                   Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึงทักษะที่เราจะใช้ชีวิตที่อยู่กับโลกนี้ มองโลกนี้เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองตัวเราเป็นศูนย์กลาง หมายถึงความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิตและสังคมของเรา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ้าเราแบ่ง 7Cs ออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของการพัฒนาด้านความคิด (Critical Thinking Creativity Collaboration Cross-Culture)ส่วนของ( Literacy) คือ ความสามารถความเข้าใจ (Information Communication Media ICT Literacy) ส่วนของ (Life Skill) คือ มองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองเราเป็นศูนย์กลาง
3.               สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
หลักสำคัญ 4 ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning: The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. 1995 ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1.             การเรียนเพื่อรู้ คือการเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2.             การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน
3.             การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4.             การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

คำถามข้อที่ 3: How can these experiences are effectively organized? (Organize)
การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลังแล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ นั้นมีดังต่อไปนี้
1.             มีความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2.             การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.             บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
    
คำถามข้อที่ 4 : How can we determine when the purposes are met? (Evaluation)
จากคำถามข้อที่ 4 มีความหมายว่า เราจะมีวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะคำถามนี้จะตรงกับหลักการประเมิน (Evaluation) โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
1.  การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
SOLO Taxonomy
SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982) แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ
1.   Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)  ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.    Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว)   การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.   Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง)  การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระเช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.   Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์)  การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.   Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม)  จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
             2.  การประเมินหลักสูตร
  1. การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร จะมี โครงสร้างหลักสูตรความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์ สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอนบรรยากาศในการเรียน  สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
  2. ขั้นการใช้หลักสูตร  เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง  ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative evaluation) ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน  การบริหารหลักสูตร  
  3. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร  เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล  คุณภาพของบัณฑิต การทำงานของบัณฑิต  ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง

เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้องตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อนนำไปใช้จริง

การจัดการเรียนรู้ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition


การจัดการเรียนรู้ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition
สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.       D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)
แนวคิดของ Taba (1962 :10) เชื่อว่า ครูผู้สอน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์หน่วยการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียน และได้นำเสนอขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง 7 ขั้น ดังนี้
1.1      การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
1.2      การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
1.3      การเลือกเนื้อหา (selection of content)
1.4      การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content)
1.5      การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences)
1.6      การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)
1.7      การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมิน(การเรียนรู้)คืออะไร จะใช้วิธีการและเครื่องมือวัดใดในประเมิน(การเรียนรู้)
เมื่อนำมาวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) อาศัยแนวคิดของบลูมและคณะที่ได้เสนอการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain) 6 ระดับ คือ ความจำ (remembering) ความเข้าใจ(understanding) ประยุกต์(applying) วิเคราะห์(analyzing) ประเมิน(evaluating) และสร้างสรรค์ (creating) และแนวคิดของมาร์ซาโน ที่เสนอแนวคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ใน meta cognitive system ประกอบด้วย 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) 2) การกำกับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา(monitoring the execution of knowledge) 3) การกำกับติดตามที่มีความกระจ่างชัด (monitoring clarity) 4) การกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ(monitoring accuracy)
จากการประมวลผลแนวคิดของ Taba (1962 :10), Bloom’s revised taxonomy, Marzano (2000) และหลักสูตรอิงมาตรฐาน เมื่อนามาปรับใช้ใน DRU Model ในขั้น D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) ดังนี้
1)    ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) เพื่อให้ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมายและระดับคุณภาพของการเรียนรู้ กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร และหรือสามารถทำอะไรได้
2)    ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้โดยอาศัยแนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out-come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้ จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3)     ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ(ตามแนวคิดบลูม) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน(หนังสือ คู่มือ ฯลฯ) หรือการฟัง(การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง(วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม(social constructivist) อาทิ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทางานเป็นทีม ฯลฯ
สรุป ขั้นแรกของ DRU Model ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอน D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) คือ การระบุเป้าหมายการเรียนรู้ (goal setting relative to learning task)
2.        ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R-Research into identifying effective learning environments )
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) คือการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในวิชาที่เรียน คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หน่วยงานการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st centuryskills.org) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คือระบบสนับสนุนที่จัดสรรเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคน และสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือ และชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และนักการศึกษาเพื่อจะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
2.1      สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
2.2     สนับสนุน ชุมชนการเรียนรู้ระดับมืออาชีพ ที่ช่วยให้นักการศึกษาทำงานร่วมกัน แบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
2.3     ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทของศตวรรษที่ 21 เช่น ผ่านโครงการ หรืองานต่าง ๆที่นำไปใช้
2.4      ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีและทรัพยากร
2.5      จัดสรรให้การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่ 21 สำหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทีมงาน และของแต่ละบุคคล
2.6      รองรับชุมชนที่มีการขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ ทั้งการเรียนแบบ face to face และออนไลน์
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล การเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและที่ใดก็ได้ เมื่อความต้องการของผู้เรียนเกิดขึ้นในบริบทของความสัมพันธ์แบบให้ทันเวลา(just in time)” มากกว่าเป็นการเรียนแบบเผื่อไว้(just in case)” และการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นแบบสิ่งที่ฉันต้องการ (just what I needs)” ดังนั้น โอกาสที่จะได้รับความรู้และทักษะในการเรียนรู้ผ่านกลยุทธการเรียนรู้ที่เป็นส่วนบุคคล และปรับให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.     การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for Learning and Assessment)
Universal Design (UD) เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้น การนำหลักการ universal design มาใช้ในการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลาย การนำ UDL มาใช้ก็เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ  การพัฒนาแผนการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นำแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้(UDL) มาใช้เพื่อช่วยครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆเพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน การวางแผนการประเมินดังกล่าวนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการประเมินความรู้และทักษะที่สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในจุดหมายของการเรียนรู้ ดังนี้
3.1      กำหนดจุดหมาย(goal setting) ในการกำหนดจุดหมายต้องระบุ 1) บริบท ให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ หัวข้อสำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน 2) ปรับจุดหมายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น และมาตรฐานของชาติ
3.2      วิเคราะห์หลักสูตรและกิจกรรมในชั้นเรียน มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน และการประเมินการเรียนรู้ จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐานแล้วเลือกกิจกรรมที่มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตร
3.3      ใช้หลักการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้กับบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ในขั้นตอนนี้จะต้องระบุ 1) วิธีสอน/วิธีการเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของบทเรียน 2) รวบรวมและจัดการเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ที่สนับสนุนบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.4   การประยุกต์ใช้ UDL ในการเรียนรู้ มี 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 การนำเสนอ การจัดการเรียนรู้ตามหลักการของ UDL ควรใช้รูปแบบการนาเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้รูปแบบของข้อมูลหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลที่สัมผัสได้ การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจจากการเรียน ระดับที่ 2 การสื่อสาร การให้โอกาสในการแสดงออกได้หลากหลายวิธีการ ได้แก่ การใช้ร่างกาย การพูด การใช้การทำงานของสมองระดับสูง(executive function) และระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ การพยายามชักจูงความสนใจ โดยให้อิสระในการเลือก สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทำงาน และเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเอง (self regulation)
The SOLO taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ความสำคัญข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน  การนำ SOLO taxonomy มาใช้เป็นแนวการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน จะช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ระหว่างเรียน เพื่อที่จะได้หาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่โดยไม่ได้มุ่งเน้นการให้คะแนนจากผลงานทั้งจากผู้สอนและผู้เรียนเพียงเท่านั้น สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา Meta cognition ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ปฏิบัติจากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดพัฒนาการการเรียนรู้

สรุปได้ว่า การดำเนินการตามขั้น U: Universal Design for learning (การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล: UDL) เป็นขั้นที่ให้นักศึกษาประเมิน ตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้อง และมีการกำกับติดตามซึ่งการกำกับติดตามนั้นมีความถูกต้องเม่นยำ ผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการระบุแนวทางการประเมินการเรียนรู้ ตามระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับคุณภาพการเรียนรู้ไว้ 4 ระดับ คือ ระดับการเรียนรู้เท่ากับ SOLO 1 = ต่ำ , SOLO 2 = ปรับปรุง , SOLO 3 = ปานกลาง/พอใช้  , SOLO 4 = สูง
แผนภาพความสัมพันธ์ของ  DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition 

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.          D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)
ขั้น D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
1)      ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) เพื่อให้
ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมายและระดับคุณภาพของการเรียนรู้ กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร และหรือสามารถทำอะไรได้
2)       ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้โดยอาศัย
แนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out-come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้ จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3)       ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนประสบ
ความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ(ตามแนวคิดบลูมส์) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน(หนังสือ คู่มือ ฯลฯ) หรือการฟัง(การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง(วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม(social constructivist) อาทิ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทำงานเป็นทีม ฯลฯ
2.        ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (R-Research into identifying effective learning environments )
ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิด “การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้”  “สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้” มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้
1)      ใช้คำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้(specifying learning goals) คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดมสมองเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ แสวงหาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมให้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นต้น
2)       ใช้คำถามสร้างความคิดเกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ (learning activity) ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็น
ผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะบอกว่าผู้สอนสอนอะไรหรือทำอะไร การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – ปฏิบัติภาระงาน/กิจกรรมตามที่วิเคราะห์และออกแบบการเรียนรู้ไว้ เป็นการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนมีการกำกับติดตามตนเองเพื่อให้ได้ความรู้ (monitoring the execution of knowledge)  
3)       ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาจากฐานข้อมูล
ความรู้/หนังสือ หรือแหล่งสืบค้นออนไลน์ โดยระบุภาระงานในการสืบค้นรายบุคคลหรือกลุ่มมอบหมายงาน/ภาระงานรายบุคลหรือกลุ่มแล้วแต่กรณี ร่วมกันวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง และช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำกับติดตามได้อย่างกระจ่างชัด(monitoring clarity)
4)      ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบทบทวนการเรียนรู้ของตนเอง อาทิ “ผู้เรียนจะทำอะไร หรือ
ปฏิบัติอย่างไร ที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้”  “ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์(วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กับแหล่งเรียนรู้อย่างไร”  “ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ อย่างไร”  คำถามดังกล่าวนี้จะช่วยในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเองซึ่งเป็นแนวทางกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ (monitoring accuracy) จากนั้นผู้เรียนร่วมกันสรุป และวิพากษ์ เป็นการนำเสนอความรู้โดยใช้ภาษา/คำพูดของตนเอง
3.         การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for Learning and Assessment)
ขั้นตอนการตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for Learning and Assessment) นำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ร่วมกับแนวคิดโครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Structure of Observed Learning Out-come : SOLO Taxonomy) มาเป็นแนวคิดในการสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพของพัฒนาการการเรียนรู้ ดังนี้
1)      ใช้คำถามกระตุ้นให้คิดตรวจสอบทบทวนเกี่ยวกับความรู้ใหม่ ที่ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าจุดหมาย
การเรียนรู้เกี่ยวข้องกับ บริบทและหรือให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ หัวข้อสำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน และจุดหมายดังกล่าวเหมาะสมกับท้องถิ่น และสะท้อนมาตรฐานของชาติหรือไม่
2)     ใช้คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้แล้ว โดยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐาน การเลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตรประเมินจุดเด่น/จุดด้อยของตนเอง สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
3)      ใช้คำถามเกี่ยวกับช่องทางหรือวิธีการที่ผู้เรียนจะให้ข้อมูลย้อนกลับมาเพื่อประเมินในระหว่างเรียน
และเพื่อผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ร่วมกันประเมินการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการบรรลุมาตรฐานของชาติ
4)      ใช้คำถามเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน และข้อมูลย้อนกลับโดยรวม เพื่อนำไป
วางแผนการจัดระดับคุณภาพ และหรือตัดสินผลการเรียน ที่การประเมินความรู้ไม่ได้มาจากแบบทดสอบเท่านั้น 
แต่มาจากประเมินการปฏิบัติจากชิ้นงานตามระดับคุณภาพ SOLO Taxonomy แบบประเมินผลงาน/ชิ้นงาน (ตาม
เกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในขั้นการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) - คำถามเพื่อ
ให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้
ในการวิเคราะห์รูปสามเหลี่ยมหลักๆแล้วจะมีการวางแผน (P) การนำไปใช้ (M) และการประเมินผล (E)  เมื่อใช้แบบจำลอง  DRU Model  เป็นแนวคิดในการเรียนรู้การพัฒนาทักษะและกระบวนการ สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณา สามเหลี่ยมรูปใหญ่หมายถึงแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีเป้าหมายอย่างน้อยสามด้าน คือ เป้าหมายด้านความรู้ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป้าหมายด้านผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี เป้าหมายด้านสังคม มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมที่มีความสุข และในการปฏิบัติงานให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดคือเราต้องมององค์ไปประกอบทั้ง 3 ด้าน เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และองค์ประกอบหกเหลี่ยมจะเป็นตัวช่วยในการทำงานช่วยลดช่องว่างของปัญหาและมีการดำเนินการอย่างรอบด้าน อย่างเป็นระบบ
รูปที่1      เป็นส่วนบนของรูปสามเหลี่ยมใหญ่เป็นส่วนที่สำคัญที่ไม่เน้นเพียงแต่ความรู้ที่จะใส่ให้เพียงอย่างเดียว บุคคลนั้นจะต้องรู้จักการเพิ่มพูนปัญญาแห่งการรับรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากการวางแผนที่ดีแล้วมีการจัดการออกแบบหลายๆอย่างให้ดี แล้วจะทำให้เรามีปัญญาในระดับสูงได้
รูปที่2      เป็นส่วนข้างของรูปสามเหลี่ยมใหญ่ เป็นส่วนที่ cognitive อยู่บนสุด ซึ่งหมายถึงว่าเราจะต้องมีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้เกิดเป็นปัญญาแห่งการเรียนรู้ให้ได้ ซึ่งจะมีองค์ประกอบ การเรียนรู้ในหลายๆสิ่ง การนำไปใช้เลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้จำเพาะเจาะจงถูกต้องและแม่นยำที่สุด
รูปที่3     เป็นส่วนข้างขวาของสามเหลี่ยมใหญ่  ส่วนใหญ่จะเป็นการประเมินผลจากที่เราได้ดำเนินการทำกอย่างแล้วเราจะต้องวิเคราะห์ความถูกต้องตรงประเด็นหรือไม่ หรือแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าเพื่อจะได้นำมาใช้ให้ถูกวิธีถูกต้องที่สุด  จากนั้นก็จะนำไปประเมินผลต้องมีความยุติธรรม วัดได้จริง เหมาะสม อาจจะใช้ SOLO มาช่วยได้
              จะพบว่าเมื่อเราแยกย่อยออกมาเป็นส่วนๆ ก็ยังคงความหมายเดิมไม่เปลี่ยนและจะทำให้มีความละเอียดมากขึ้น  ในรูปหกเหลี่ยมนั้นจะเป็นตัวช่วยอุดช่องโหว่ปัญหาต่างๆได้  เมื่อนำรูปหกเหลี่ยมนี้มาต่อกันไปเรื่อยๆก็จะทำให้ทับกันสนิทมีพื้นที่น้อย ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญเหล่านี้จะต้องทำให้ผู้เรียนวินิจฉัยตัวเองให้ได้ว่าต้องการอะไร กระตุ้นให้เกิดความคิด พัฒนาการเรียนรู้ระยะยาว  ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัย เหมาะกับผู้เรียน  ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนและข้อมูลย้อนกลับโดยรวมเพื่อนำไปวางแผนการจัดระดับคุณภาพหรือตัดสินผลการเรียนต่อไปได้