การจัดการเรียนรู้ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition
สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้
(Diagnosis of Needs)
แนวคิดของ
Taba (1962 :10) เชื่อว่า ครูผู้สอน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์หน่วยการสอนและการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
และได้นำเสนอขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง 7 ขั้น ดังนี้
1.1 การวินิจฉัยความต้องการ
(diagnosis of needs)
1.2 การกำหนดวัตถุประสงค์
(formulation of objectives)
1.3 การเลือกเนื้อหา
(selection of content)
1.4 การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา
(organization of content)
1.5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
(selection of learning experiences)
1.6 การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้
(organization of learning experiences)
1.7 การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมิน(การเรียนรู้)คืออะไร จะใช้วิธีการและเครื่องมือวัดใดในประเมิน(การเรียนรู้)
เมื่อนำมาวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) อาศัยแนวคิดของบลูมและคณะที่ได้เสนอการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย(cognitive
domain) 6 ระดับ คือ ความจำ (remembering) ความเข้าใจ(understanding)
ประยุกต์(applying) วิเคราะห์(analyzing)
ประเมิน(evaluating) และสร้างสรรค์
(creating) และแนวคิดของมาร์ซาโน ที่เสนอแนวคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ใน
meta cognitive system ประกอบด้วย 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
(specifying learning goals) 2) การกำกับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา(monitoring
the execution of knowledge) 3) การกำกับติดตามที่มีความกระจ่างชัด
(monitoring clarity) 4) การกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ(monitoring
accuracy)
จากการประมวลผลแนวคิดของ Taba (1962
:10), Bloom’s revised taxonomy, Marzano (2000) และหลักสูตรอิงมาตรฐาน
เมื่อนามาปรับใช้ใน DRU Model ในขั้น D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) ดังนี้
1) ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) เพื่อให้ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น
ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ
(declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติ หรือกระบวนการ
(procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมายและระดับคุณภาพของการเรียนรู้
กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร และหรือสามารถทำอะไรได้
2) ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการเรียนรู้โดยอาศัยแนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure of observed learning out-come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้ จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3) ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง
ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ(ตามแนวคิดบลูม) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน(หนังสือ คู่มือ ฯลฯ) หรือการฟัง(การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง(วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม(social
constructivist) อาทิ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative
learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทางานเป็นทีม ฯลฯ
สรุป ขั้นแรกของ DRU Model ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอน D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้
(Diagnosis of Needs) คือ การระบุเป้าหมายการเรียนรู้
(goal setting relative to learning task)
2. ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(R-Research into identifying effective learning environments )
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(learning environment) คือการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในวิชาที่เรียน
คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ หน่วยงานการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 (21st centuryskills.org) ได้เสนอแนวคิดว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้คือระบบสนับสนุนที่จัดสรรเพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
เป็นระบบที่รองรับความต้องการเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคน และสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์
เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือ และชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน
และนักการศึกษาเพื่อจะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
2.1 สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้
ให้การสนับสนุนจากผู้คนโดยรอบและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้
เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
2.2 สนับสนุน ชุมชนการเรียนรู้ระดับมืออาชีพ
ที่ช่วยให้นักการศึกษาทำงานร่วมกัน แบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
2.3 ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทของศตวรรษที่
21 เช่น ผ่านโครงการ หรืองานต่าง ๆที่นำไปใช้
2.4 ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าถึงเครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
เทคโนโลยีและทรัพยากร
2.5 จัดสรรให้การออกแบบ เชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษที่
21 สำหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทีมงาน และของแต่ละบุคคล
2.6 รองรับชุมชนที่มีการขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้
ทั้งการเรียนแบบ face to face และออนไลน์
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล
การเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและที่ใดก็ได้ เมื่อความต้องการของผู้เรียนเกิดขึ้นในบริบทของความสัมพันธ์แบบ “ให้ทันเวลา(just in time)” มากกว่า
“เป็นการเรียนแบบเผื่อไว้(just in case)” และการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นแบบ
“สิ่งที่ฉันต้องการ (just what I needs)” ดังนั้น
โอกาสที่จะได้รับความรู้และทักษะในการเรียนรู้ผ่านกลยุทธการเรียนรู้ที่เป็นส่วนบุคคล
และปรับให้เข้ากับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด
UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design
for Learning and Assessment)
Universal
Design (UD) เป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นใครคนใดคนหนึ่ง
ดังนั้น การนำหลักการ universal design มาใช้ในการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลาย
การนำ UDL มาใช้ก็เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละคนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
การพัฒนาแผนการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้นำแนวคิดการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้(UDL)
มาใช้เพื่อช่วยครูผู้สอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆเพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนทุกคน
การวางแผนการประเมินดังกล่าวนี้เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับการประเมินความรู้และทักษะที่สนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในจุดหมายของการเรียนรู้
ดังนี้
3.1 กำหนดจุดหมาย(goal
setting) ในการกำหนดจุดหมายต้องระบุ 1) บริบท ให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ
หัวข้อสำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน 2) ปรับจุดหมายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น
และมาตรฐานของชาติ
3.2 วิเคราะห์หลักสูตรและกิจกรรมในชั้นเรียน
มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน
และการประเมินการเรียนรู้ จากนั้นนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐานแล้วเลือกกิจกรรมที่มั่นใจว่าผู้เรียนทุกคนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตร
3.3 ใช้หลักการออกแบบสากลเพื่อการเรียนรู้กับบทเรียนหรือหน่วยการเรียน
ในขั้นตอนนี้จะต้องระบุ 1) วิธีสอน/วิธีการเรียนรู้
การวัดและประเมินการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายของบทเรียน
2) รวบรวมและจัดการเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ที่สนับสนุนบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.4 การประยุกต์ใช้ UDL ในการเรียนรู้ มี 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 การนำเสนอ การจัดการเรียนรู้ตามหลักการของ
UDL ควรใช้รูปแบบการนาเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้รูปแบบของข้อมูลหลากหลายรูปแบบ
เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลที่สัมผัสได้ การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย
และการสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ ความเข้าใจจากการเรียน ระดับที่
2 การสื่อสาร การให้โอกาสในการแสดงออกได้หลากหลายวิธีการ ได้แก่ การใช้ร่างกาย
การพูด การใช้การทำงานของสมองระดับสูง(executive function) และระดับที่
3 การมีส่วนร่วม เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ การพยายามชักจูงความสนใจ
โดยให้อิสระในการเลือก สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทำงาน และเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเอง
(self regulation)
The SOLO taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ให้ความสำคัญข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อการเรียนรู้
ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน
การนำ SOLO taxonomy มาใช้เป็นแนวการประเมินผลการเรียนรู้
เป็นการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน จะช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ระหว่างเรียน
เพื่อที่จะได้หาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่โดยไม่ได้มุ่งเน้นการให้คะแนนจากผลงานทั้งจากผู้สอนและผู้เรียนเพียงเท่านั้น
สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา Meta cognition ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ปฏิบัติจากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดพัฒนาการการเรียนรู้
สรุปได้ว่า การดำเนินการตามขั้น U: Universal
Design for learning (การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล: UDL)
เป็นขั้นที่ให้นักศึกษาประเมิน ตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้อง
และมีการกำกับติดตามซึ่งการกำกับติดตามนั้นมีความถูกต้องเม่นยำ ผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ
ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการระบุแนวทางการประเมินการเรียนรู้
ตามระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับคุณภาพการเรียนรู้ไว้ 4 ระดับ คือ ระดับการเรียนรู้เท่ากับ SOLO 1 = ต่ำ ,
SOLO 2 = ปรับปรุง , SOLO 3 = ปานกลาง/พอใช้ , SOLO 4 = สูง
แผนภาพความสัมพันธ์ของ DRU Model เพื่อส่งเสริม Meta cognition
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)
ขั้น
D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้
(Diagnosis of Needs) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
1) ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
(specifying learning goals) เพื่อให้
ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น
ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติ
หรือกระบวนการ (procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมายและระดับคุณภาพของการเรียนรู้
กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร
และหรือสามารถทำอะไรได้
2) ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการเรียนรู้โดยอาศัย
แนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้
(structure of observed learning out-come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้
จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3) ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง
ที่คาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนประสบ
ความสำเร็จในการเรียนรู้
โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ(ตามแนวคิดบลูมส์)
กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน(หนังสือ คู่มือ
ฯลฯ) หรือการฟัง(การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น
ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง(วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์)
กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม(social constructivist) อาทิ การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(cooperative
learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทำงานเป็นทีม ฯลฯ
2. ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(R-Research
into identifying effective learning environments )
ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิด “การวิจัยในกระบวนการเรียนรู้” “สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้”
มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ดังนี้
1) ใช้คำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้(specifying learning goals) คือ ผลการเรียนรู้ สมรรถนะ
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ระดมสมองเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ แสวงหาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
การจัดสภาพแวดล้อมให้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน เป็นต้น
2) ใช้คำถามสร้างความคิดเกี่ยวกับ
กิจกรรมการเรียนรู้ (learning activity) ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็น
ผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ
ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะบอกว่าผู้สอนสอนอะไรหรือทำอะไร
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – ปฏิบัติภาระงาน/กิจกรรมตามที่วิเคราะห์และออกแบบการเรียนรู้ไว้
เป็นการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งหมายถึงการกระทำใด ๆ ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
ผู้เรียนมีการกำกับติดตามตนเองเพื่อให้ได้ความรู้ (monitoring
the execution of knowledge)
3) ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาจากฐานข้อมูล
ความรู้/หนังสือ
หรือแหล่งสืบค้นออนไลน์ โดยระบุภาระงานในการสืบค้นรายบุคคลหรือกลุ่มมอบหมายงาน/ภาระงานรายบุคลหรือกลุ่มแล้วแต่กรณี
ร่วมกันวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง และช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำกับติดตามได้อย่างกระจ่างชัด(monitoring clarity)
4) ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบทบทวนการเรียนรู้ของตนเอง
อาทิ “ผู้เรียนจะทำอะไร หรือ
ปฏิบัติอย่างไร
ที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้” “ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์(วิเคราะห์ ประเมิน
และสร้างสรรค์) กับแหล่งเรียนรู้อย่างไร”
“ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้น ๆ
อย่างไร”
คำถามดังกล่าวนี้จะช่วยในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเองซึ่งเป็นแนวทางกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ
(monitoring accuracy) จากนั้นผู้เรียนร่วมกันสรุป และวิพากษ์
เป็นการนำเสนอความรู้โดยใช้ภาษา/คำพูดของตนเอง
3. การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด
UDL
เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for
Learning and Assessment)
ขั้นตอนการตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด
UDL
เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(U-Universal Design for
Learning and Assessment) นำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
ร่วมกับแนวคิดโครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Structure of Observed Learning Out-come : SOLO Taxonomy) มาเป็นแนวคิดในการสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพของพัฒนาการการเรียนรู้ ดังนี้
1) ใช้คำถามกระตุ้นให้คิดตรวจสอบทบทวนเกี่ยวกับความรู้ใหม่
ที่ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าจุดหมาย
การเรียนรู้เกี่ยวข้องกับ บริบทและหรือให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ
หัวข้อสำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน และจุดหมายดังกล่าวเหมาะสมกับท้องถิ่น
และสะท้อนมาตรฐานของชาติหรือไม่
2) ใช้คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้แล้ว
โดยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐาน
การเลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตรประเมินจุดเด่น/จุดด้อยของตนเอง สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
3) ใช้คำถามเกี่ยวกับช่องทางหรือวิธีการที่ผู้เรียนจะให้ข้อมูลย้อนกลับมาเพื่อประเมินในระหว่างเรียน
และเพื่อผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ร่วมกันประเมินการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการบรรลุมาตรฐานของชาติ
4) ใช้คำถามเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
และข้อมูลย้อนกลับโดยรวม เพื่อนำไป
วางแผนการจัดระดับคุณภาพ
และหรือตัดสินผลการเรียน ที่การประเมินความรู้ไม่ได้มาจากแบบทดสอบเท่านั้น
แต่มาจากประเมินการปฏิบัติจากชิ้นงานตามระดับคุณภาพ SOLO Taxonomy แบบประเมินผลงาน/ชิ้นงาน
(ตาม
เกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในขั้นการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้
(Diagnosis of Needs) -
คำถามเพื่อ
ให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้ เป็นการออกแบบการเรียนรู้
ในการวิเคราะห์รูปสามเหลี่ยมหลักๆแล้วจะมีการวางแผน
(P) การนำไปใช้ (M) และการประเมินผล (E) เมื่อใช้แบบจำลอง DRU
Model เป็นแนวคิดในการเรียนรู้การพัฒนาทักษะและกระบวนการ
สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณา สามเหลี่ยมรูปใหญ่หมายถึงแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ที่มีเป้าหมายอย่างน้อยสามด้าน คือ เป้าหมายด้านความรู้
มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป้าหมายด้านผู้เรียนมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี
เป้าหมายด้านสังคม มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมที่มีความสุข และในการปฏิบัติงานให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดคือเราต้องมององค์ไปประกอบทั้ง
3 ด้าน เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ และองค์ประกอบหกเหลี่ยมจะเป็นตัวช่วยในการทำงานช่วยลดช่องว่างของปัญหาและมีการดำเนินการอย่างรอบด้าน
อย่างเป็นระบบ
รูปที่1 เป็นส่วนบนของรูปสามเหลี่ยมใหญ่เป็นส่วนที่สำคัญที่ไม่เน้นเพียงแต่ความรู้ที่จะใส่ให้เพียงอย่างเดียว
บุคคลนั้นจะต้องรู้จักการเพิ่มพูนปัญญาแห่งการรับรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา
ซึ่งเกิดจากการวางแผนที่ดีแล้วมีการจัดการออกแบบหลายๆอย่างให้ดี
แล้วจะทำให้เรามีปัญญาในระดับสูงได้
รูปที่2 เป็นส่วนข้างของรูปสามเหลี่ยมใหญ่ เป็นส่วนที่ cognitive
อยู่บนสุด
ซึ่งหมายถึงว่าเราจะต้องมีการพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆให้เกิดเป็นปัญญาแห่งการเรียนรู้ให้ได้
ซึ่งจะมีองค์ประกอบ การเรียนรู้ในหลายๆสิ่ง
การนำไปใช้เลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้จำเพาะเจาะจงถูกต้องและแม่นยำที่สุด
รูปที่3 เป็นส่วนข้างขวาของสามเหลี่ยมใหญ่
ส่วนใหญ่จะเป็นการประเมินผลจากที่เราได้ดำเนินการทำกอย่างแล้วเราจะต้องวิเคราะห์ความถูกต้องตรงประเด็นหรือไม่
หรือแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าเพื่อจะได้นำมาใช้ให้ถูกวิธีถูกต้องที่สุด จากนั้นก็จะนำไปประเมินผลต้องมีความยุติธรรม
วัดได้จริง เหมาะสม อาจจะใช้ SOLO มาช่วยได้
จะพบว่าเมื่อเราแยกย่อยออกมาเป็นส่วนๆ
ก็ยังคงความหมายเดิมไม่เปลี่ยนและจะทำให้มีความละเอียดมากขึ้น
ในรูปหกเหลี่ยมนั้นจะเป็นตัวช่วยอุดช่องโหว่ปัญหาต่างๆได้
เมื่อนำรูปหกเหลี่ยมนี้มาต่อกันไปเรื่อยๆก็จะทำให้ทับกันสนิทมีพื้นที่น้อย
ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญเหล่านี้จะต้องทำให้ผู้เรียนวินิจฉัยตัวเองให้ได้ว่าต้องการอะไร
กระตุ้นให้เกิดความคิด พัฒนาการเรียนรู้ระยะยาว
ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัย เหมาะกับผู้เรียน ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนและข้อมูลย้อนกลับโดยรวมเพื่อนำไปวางแผนการจัดระดับคุณภาพหรือตัดสินผลการเรียนต่อไปได้
|