"Tyler's rationale" โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น
ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา
ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์
ตาราง หลักการการสร้างหลักสูตร
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
|
หลักการสร้างหลักสูตร
|
What is the
purpose of the education?
|
การวางแผนหลักสูตร
(Planning)
|
What
educational experiences will attain the purposes?
|
การออกแบบหลักสูตร (Design)
|
How can these
experiences be effectively organized?
|
การจัดการหลักสูตร
(Organize)
|
How can we
determine when the purposes are met?
|
การประเมินหลักสูตร
(Evaluation)
|
การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา
การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรด้วย
โดยรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
คำถามข้อที่ 1: What is the purpose
of the education? (Planning)
จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร
เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ
และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม
และความมุ่งหวังทางสังคม
แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ
แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
1.
Subject
matter หรือว่าผู้รู้
2.
Learner คือด้านผู้เรียน
3.
Society คือด้านสังคม
คำถามข้อที่ 2: What
educational experiences will attain the purposes? (Design)
1.
หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร
(7 Principles of Curriculum Design)
-
Challenge
and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือต้องออกแบบหลักสูตรให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนรู้
-
Breadths (ความกว้าง) คือหลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้
เพราะว่าบางครั้งในการเรียนรู้มีแนวทางในการเรียนได้หลายทาง
-
Progressions (ความก้าวหน้า) คือหลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
-
Depths (ความลึกซึ้ง) คือหลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง
ซึ่งสำคัญ คือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
-
Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือหลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องสนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
-
Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือเนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
-
Personalization
and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือหลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
2.
ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่
21 (21st Century
Skills)
เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า
จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
7Cs
-
Critical
Thinking & Problem solving คือทักษะในการคิดวิเคราะห์
หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
-
Creativity
& Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว
คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
-
Cross-Cultural
understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์
เพราะเราเป็นสังคมโลก
-
Collaboration
Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว
จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้
ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์
-
Communication
information and media literacy คือความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ
เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร
มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ
ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี
ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล
สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
-
Computing and
ICT literacy คือความสามารถในยุคของ Digital
age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง
เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น
ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
-
Career and Life
skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ
หมายถึงทักษะที่เราจะใช้ชีวิตที่อยู่กับโลกนี้ มองโลกนี้เป็นศูนย์กลาง
ไม่ใช่มองตัวเราเป็นศูนย์กลาง หมายถึงความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิตและสังคมของเรา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ้าเราแบ่ง 7Cs ออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของการพัฒนาด้านความคิด (Critical
Thinking Creativity Collaboration Cross-Culture)ส่วนของ( Literacy) คือ ความสามารถความเข้าใจ (Information Communication Media
ICT Literacy) ส่วนของ (Life Skill) คือ มองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองเราเป็นศูนย์กลาง
3.
สี่เสาหลักของการศึกษา
(The four
Pillars of Education)
หลักสำคัญ 4
ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่
21 ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning: The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ
ค.ศ. 1995 ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ 4 ประการ
ได้แก่
1.
การเรียนเพื่อรู้ คือการเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง
ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2.
การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง
ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ
ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้
สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน
โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน
3.
การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า
มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน
ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ
โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ
ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4.
การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น
ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น
การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ
การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย
ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
คำถามข้อที่ 3: How can these experiences are effectively
organized? (Organize)
การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน
ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ
ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนและธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน
ซึ่งการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ต่างๆ
ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า
เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง
ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลังแล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม
ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์
นั้นมีดังต่อไปนี้
1.
มีความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ
ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2.
การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง
หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก
ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3.
บูรณาการ (integration) หมายถึง
การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน
ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด
ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้
จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
คำถามข้อที่ 4 : How
can we determine when the purposes are met? (Evaluation)
จากคำถามข้อที่
4 มีความหมายว่า
เราจะมีวิธีการประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรจึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งจะคำถามนี้จะตรงกับหลักการประเมิน (Evaluation)
โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s
Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s
Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว
หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
SOLO
Taxonomy
SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome
Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model)
ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย
ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา
ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982) แบบของ SOLO
Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว
เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระเช่น
สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended
abstract (ระดับขยายนามธรรม)
จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น
การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
2. การประเมินหลักสูตร
- การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร จะมี โครงสร้างหลักสูตรความมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน อุปกรณ์ สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอนบรรยากาศในการเรียน สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
- ขั้นการใช้หลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative evaluation) ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตร
- ขั้นผลิตผลของหลักสูตร เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล คุณภาพของบัณฑิต การทำงานของบัณฑิต ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้องตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร เพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อนนำไปใช้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น