ระบบอภิปัญญาและมิติใหม่ทางการศึกษา
(Meta cognitive system and Marzano’s New Taxonomy)
มาร์ซาโน (Marzano, 2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่ แบ่งเป็นระบบปัญญาแห่งการรับรู้ (Cognitive System) ระบบปัญญาขั้นสูง (Meta cognitive System) และระบบมีความคิดของตนเอง (Self System) และได้จำแนกระดับการเรียนรู้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่ การระบุข้อความได้ (Recognizing) การระลึกได้ (Recalling) และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การบูรณาการ (Integration) และการทำให้เป็นสัญลักษณ์ (Symbolizing)
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying) วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error) ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จำเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
ขั้นที่ 4 การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่ การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting) และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Investigating)
ขั้นที่ 5 การเกิดปัญญาขั้นสูง (Meta cognition) ได้แก่ การบ่งชี้เป้าหมาย (Specifying Goals) การเฝ้าระวังในกระบวนการ (Process Monitoring) การทำให้เกิดความชัดเจน (Monitoring Clarity) และการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง (Self-System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Examining Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining Motivation)
ตารางที่ 1 ระบบ Meta cognitive และมิติใหม่ทางการศึกษาตามแนวคิด Marzano
ระบบตนเอง (Self - System)
| |||||||
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้ (Beliefs About the Importance of Knowledge)
|
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
(Beliefs About Efficacy)
|
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับความรู้ (Emotions Associated with Knowledge )
| |||||
ระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive System)
| |||||||
การบ่งชี้จุดหมายการเรียนรู้ (Specifying Learning
Goals)
|
การเฝ้าระวังในกระบวนการ /การนำความรู้ไปใช้(Monitoring the Execution Knowledge)
|
การทำให้เกิดความชัดเจน (Monitoring Clarity)
|
การตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน(Monitoring Accuracy)
| ||||
ระบบปัญญา/พุทธิพิสัย (Cognitive System )
| |||||||
การเรียกใช้ความรู้ (Knowledge Retieval)
|
ความเข้าใจ (Comprehension)
|
การวิเคราะห์ (Analysis)
|
การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing)
| ||||
การระลึกได้(Recalling)
การลงมือปฏิบัติได้(Executing)
|
การสังเคราะห์ (Synthesis)
การกำหนดสัญลักษณ์/
การเป็นตัวแทน (Representation)
|
การจับคู่ได้(Matching)
แยกประเภทได้(Classifying)
วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analyzing Error)
การกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป (Generalizing)
การกำหนดเฉพาะเจาะจงได้ (Specifying)
|
การตัดสินใจ(Decision Making)
การแก้ปัญหา(Problem Solving)
การทดลองปฏิบัติ (Experimenting)
การสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง (Investigating)
| ||||
ขอบเขตความรู้ (Knowledge Domain )
| |||||||
ข้อมูล (Information)
|
ขั้นการคิดวิธีการดาเนินการ(Mental Procedures)
|
ขั้นการลงมือทำ
(Physical Procedures )
|
ตารางที่ 2 ขั้นตอน / กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta cognition
ทฤษฎี/แนวคิด
|
ขั้นตอน / กิจกรรมการเรียนรู้
| ||||
Constructivist
|
Clarifying exist knowledge
|
Identifying receiving and understanding new information
|
Confirming and using new knowledge
| ||
Biggs’s 3P
|
Presage
|
Process
|
Product
| ||
Research Learning
|
วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
|
วางแผนการเรียนรู้
|
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
|
การสรุป/การวิพากษ์ความรู้
|
ประเมินการเรียนรู้
|
SU Learning Model
|
การวางแผนการเรียนรู้
|
การออกแบบการเรียนรู้
|
ปฏิบัติการการเรียนรู้
(การเรียนรู้+การจัดการชั้นเรียน)
|
การประเมินการเรียนรู้
| |
DRU Model
|
D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้(Diagnosis of Needs)
|
R : การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Research into identifying effective learning environments )
|
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(Universal Design for Learning and Assessment)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น