กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูดร (สามเหลี่ยมเล็กๆ
4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1. สามเหลี่ยมแรก การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
เพื่อนำไปวางแผ่นหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร
2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง
การออกแบบ (Curriculum Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ ม่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์คือมีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3. สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum
Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
4. สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (CurriculumEvaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
พื้นฐานแนวคิด SU
Model มาจากการพัฒนาสามเหลี่ยมมุมบน มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้
และพลศึกษา
เป็นการฝึกหัดให้มีร่างกายสมบูรณ์
เมื่อนำมาใช้จะได้ว่า เป้าหมายหมายของสูตรจะมุ่งเน้นให้เกิด
ความรู้ (knowledge) พัฒนาผู้เรียน (leader) และสังคม (society) มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนที่ “เก่ง ดี มีสุข” การพัฒนาหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน
คือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม มีการพัฒนาหลักสูตรจากรูปสามเหลี่ยมไปสู่การวางแผนหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้
และการประเมินหลักสูตร ดังภาพ SU
Model มีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มจากวงกลม
หมายถึง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หมายถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
2. ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
ระบุพื้นฐาน 3 ด้าน (ปรัชญาจิตวิทยาสังคม) ลงในช่องว่างนอกรูปโดยกำหนดให้ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ
พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา
และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
3. พื้นฐานด้านปรัชญา ได้แนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ มาจากพื้นฐานสามรัตถนิยมกับปรัชญานิรันตรนิยม การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิวม และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม
4. กำหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน เพื่อแทนความหมายว่าในการพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญา
จิตวิทยา และสังคม
5. พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมเล็กๆทั้งสี่รูป
ได้แก่ การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
การจัดหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร
หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีพื้นฐานที่สำคัญจากปรัชญาพิพัฒนาการ ที่มีความเชื่อว่าสาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1. มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2. มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี
ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้
3. ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ
ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ
วัสดุอุปกรณ์ เอกสารหลักสูตรต่าง ตลอดจนสถานที่ต่างๆ
ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ
สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี
และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4. ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้
ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้ ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น
5. การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ
ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
6. หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ
7. การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน
จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ
มาประเมินวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้ ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด SU
Model
จากกระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)
จะประกอบด้วยขั้นตอนใน การจัดทำหลักสูตร (สามเหลี่ยมเล็ก ๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4
ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนหลักสูตร : หลักสูตรอิงมาตรฐาน (ความรู้ การปฏิบัติ
และคุณลักษณะ) 2) การออกแบบหลักสูตร : หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3)การจัดหลักสูตร : เพื่อการนำหลักสูตรไปปฏิบัติ(การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน)
: การจัดหลักสูตรจะคำนึงถึงมาตรฐานและตัวชี้วัด TQF และ 4)
การประเมินการเรียนรู้ : การประเมินหลักสูตรคุณภาพหลักสูตร ข้อมูลสำคัญ
ส่วนหนึ่งได้มาจากการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การนำแนวคิด SU Model มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ดังนี้
ใช้คำถามสร้างความคิดเกี่ยวกับ
การทำความกระจ่างในความรู้ – ความรู้และทักษะอะไร ที่เป็น
ความจำเป็นที่ผู้เรียนได้รับหลังจากเรียนรู้
การวางแผนการเรียนรู้ด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (Learning Goal) และออกแบบการเรียนรู้ โดยมีลำดับดังนี้
1. ผู้เรียนกำหนดกรอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยระบุ
ความรู้ในรูปของสารสนเทศหรือdeclarative knowledge และระบุทักษะการปฏิบัติ(โครงงาน
งาน ภาระงาน) กลยุทธ์ทักษะหรือกระบวนการ
หรือ procedural knowledge และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใน
ขั้นตอนนี้มาร์ซาโน(Marzano, R.J.2007) กล่าวว่าเป็นขั้นตอนของการระบุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้
(learning goal) ข้อมูลที่ได้ต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมายและระดับคุณภาพของการ
เรียนรู้โดยที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุไว้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไรและหรือสามารถที่จะทำอะไรได้
2. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้และระบุเกณฑ์คุณภาพวัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นค่าระดับตาม
โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (structure
of observed learning out-comes : SOLO Taxonomy)
3. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้
ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการ เรียนรู้
ในกรณีที่วัตถุประสงค์เป็นความรู้ความเข้าใจ
จะระบุเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน(collaborative
learning) หรือการเรียนรู้แบบนำตนเอง(self-directed
learning) โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
ถ้าผู้เรียนต้องการการเรียนรู้แบบการมีความคิดวิจารณญาณ จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
(cooperative learning) มีการอภิปรายเรื่องราวที่เรียนรู้ กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทำงานเป็นทีม
หรือกลยุทธ์การ เรียนรู้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ เป็นต้น
ตัวอย่าง การปรับใช้แนวคิด SU Model ในการเรียนการสอน การนำแนวคิด
SU Model ไปใช้ในการเรียนรู้วิชาชีพครู เรื่อง
หลักสูตรและจัดการเรียนรู้ เขียน แผนภาพประกอบแนวคิดได้ดังนี้
แนวคิดการสร้างความรู้และการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้
1. ผู้เรียนสร้างความเข้าใจด้วยตนเองผ่านกิจกรรมการเรียนรู้
โดยที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เข้าใจ ง่ายจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดียิ่ง
2. ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ
ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้
เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะระบุว่าผู้สอนสอนอะไรหรือทำอะไร
3. การวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้หมายถึงการกระทำใด
ๆ ของผู้สอนที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุน
กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้
4. วิธีการสอนและการประเมินการเรียนรู้จะเป็นการวางแนวทางในการออกแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้
5. การวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุระดับคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียน
ให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง คำถามในขั้นตอน
การเลือกรับและการทำความเข้าใจสารสนเทศใหม่ ดังตัวอย่าง ผู้เรียนจะกระทำอะไรหรือปฏิบัติอะไรที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์(วิเคราะห์ สังเคราะห์
และประเมิน) กับแหล่งเรียนรู้ที่เป็นบทเรียนอย่างไร ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้น
ๆ อย่างไร
เป้าหมายของหลักสูตร
:
1. ความรู้ (Knowledge)
2. ผู้เรียน (Learners)
3. สังคม (Society)
พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
:
1.
พื้นฐานด้านปรัชญา (Philosophy)
2.
พื้นฐานด้านจิตวิทยา (Psychology)
3.
พื้นฐานด้านสังคม (Social)
การจัดการเรียนรู้ตามแบบจำลอง SU Model ที่เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งพัฒนาให้
ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ดังตัวอย่างในการเรียนรู้เรื่องหลักสูตรและจัดการเรียนรู้
โดยที่เมื่อดำเนินการตามแผนภาพดังกล่าวแล้วช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์คือ
เป็นคนดี มีความสุขและเป็นคนเก่ง ดัง
รายละเอียดต่อไปนี้
เป้าหมายของหลักสูตร
: คนเก่ง จากแบบจำลอง SU Model
สามเหลี่ยมรูปที่อยู่มุมบนสุด จะพบว่า มุมของสามเหลี่ยมใหญ่
เป้าหมายของหลักสูตร กำกับด้วยข้อความว่า Knowledge ซึ่งหมายถึง
หลักสูตรมีเป้าหมายที่ความรู้ – ผู้เรียนมีความรู้-คนเก่ง โดยข้อมูลพื้นฐานสำคัญประกอบด้วย
พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยาและพื้นฐานด้านสังคม
ซึ่งมีพื้นฐานปรัชญาการศึกษาสำคัญสองปรัชญาคือ ปรัชญาสารัตถนิยม
และปรัชญานิรันตรนิยม และข้อมูลพื้นฐานด้านสาขาวิชา
โดยที่การเรียนการสอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่มีความเคร่งครัด
ความถูกต้องแม่นยำ(Rigor) มีทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อผู้เรียนจะมีบทบาทสำคัญในกลยุทธการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เหมือนจริงหรือใกล้เคียงกับความจริงในลักษณะ
Blended Learning อันเป็นกลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ
ที่มุ่งเพิ่มประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนรู้และลดค่าใช้จ่าย
ด้วยการใช้กลไกในการรับส่งสารสนเทศมาเป็นจุดแข็ง
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
มิใช่เป็นไปตามความสนใจของผู้สอนเท่านั้น ผู้เรียน ปฏิบัติการเรียนรู้ลงมือทำด้วยตนเองก่อนแล้วผู้สอนจึงจะมีบทบาทในการแนะนำ/ชี้แจงเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเกิด
องค์ความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองและความรู้นั้นยัง
คงทนอีกด้วย กล่าวโดยสรุปเป้าหมายที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เมื่อนำมาปรับใช้ในขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้
ด้วยตนเอง คือขั้นการวางแผนและขั้นการออกแบบ ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า
สาระความรู้และเกณฑ์ คุณภาพของการเรียนรู้
เป้าหมายของหลักสูตร
: คนดี จากแบบจำลอง SU Model
สามเหลี่ยมรูปที่อยู่มุมล่างซ้ายมือ จากภาพจะพบว่า มุมของสามเหลี่ยมใหญ่
เป้าหมายของหลักสูตรกำกับด้วยข้อความว่า Learner ซึ่งหมายถึง
หลักสูตรมีเป้าหมายที่ผู้เรียน – เป็นคนดี
โดยข้อมูลพื้นฐานสำคัญประกอบด้วยพื้นฐานด้านจิตวิทยาและพื้นฐานด้านสังคม
ซึ่งมีพื้นฐานปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องคือ อัตถิภาวะนิยมเป็นปรัชญาที่ให้ความเป็นอิสระในการเลือกที่จะเรียนรู้และในการเลือกต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาของการเลือกนั้นด้วยและข้อมูลพื้นฐานด้านผู้เรียน
โดยที่การเรียนการสอนจะสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตและอาชีพ
สามารถแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์(Relevance) อันเป็นผลจากการมีทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและ
รู้เท่าทันสื่อ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต
ปฏิบัติตนตามกฎหมายดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
อันจะก่อให้เกิดการพัฒนา สังคมและประเทศชาติ กล่าวโดยสรุปได้ว่า
มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็น คนดี หมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ทั้งในด้านพฤติกรรมที่แสดงออกและด้านจิตใจ
เป็นคนที่มีคุณธรรม มีเหตุผล รู้หน้าที่ รับผิดชอบ มีวินัย ขยัน อดทน
ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ มีค่านิยมประชาธิปไตย
ประกอบด้วยการเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น การ เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น
ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์ เคารพกติกาสังคมและสามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กล่าวโดยสรุปเป้าหมายที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี
เมื่อนำมาปรับใช้ในขั้นตอนการ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
คือขั้นการจัด(หลักสูตร-การเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน)
ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอนนี้ เรียกว่า การเรียนรู้พัฒนา HOTS
เป้าหมายของหลักสูตร : มีความสุข จากแบบจำลอง SU Model สามเหลี่ยมรูปที่อยู่มุมล่างขวามือ จากภาพจะพบว่า มุมของ สามเหลี่ยมใหญ่
เป้าหมายของหลักสูตรกำกับด้วยข้อความว่า Society
ซึ่งหมายถึง เป้าหมายด้านสังคม มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมที่มีความสุขโดยข้อมูลพื้นฐานสำคัญประกอบด้วย
พื้นฐานด้านจิตวิทยาและพื้นฐานด้านสังคม
ซึ่งมีพื้นฐานปรัชญาการศึกษาที่เกี่ยวข้องคือ ปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)
และข้อมูลพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นความสุขในการเรียนรู้
โดยสอดแทรกไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอนสามารถแสดงออกซึ่งความสัมพันธภาพ(Relationships) ในการศึกษาเรียนรู้และนำเสนอกระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและมานำเสนอ
โดยที่อาจารย์ไม่กำหนดหรือระบุชี้ชัดว่าต้องไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งใดเพื่อเป็นการให้
นักศึกษามีความสุขในการเรียนรู้ด้วยการเลือกที่รับและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มุ่งพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อและมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้(active
learning) มากกว่าการที่จะเรียนในรูปแบบที่รับอย่างเดียว (passive
learning) ในการศึกษาเรียนรู้ในชั้นเรียน
มีการเรียนรู้พัฒนาทักษะ ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนะธรรม
ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปเป้าหมายที่มุ่งให้สังคมที่ สมาชิกคือผู้เรียนเป็นคนที่มีความสุข
เมื่อนำมาปรับใช้ในขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง คือขั้นการ ประเมิน
ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า นวัตกรรมการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น